เมนู

อรรถกถาอุททาลกชาดก


พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระมหาวิหารเชตวัน ทรง
พระปรารภภิกษุผู้หลอกลวงรูปหนึ่ง ตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า ขราชินา
ชฏิลา ปงฺกทนฺตา
ดังนี้.
เรื่องย่อมีว่า ภิกษุนั้น แม้บวชในพระศาสนาอันมีธรรมเป็นเครื่อง
นำออกจากทุกข์ได้แล้ว ก็ยังชอบประพฤติเรื่องหลอกลวง 3 สถาน เพื่อต้อง
การปัจจัยทั้งสี่. ครั้งนั้นพวกภิกษุเมื่อจะประกาศโทษของเธอ ตั้งเรื่องสนทนา
กันในธรรมสภาว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุที่ชื่อโน้นบวชในพระศาสนา อัน
ประกอบด้วยธรรม เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์เห็นปานนี้แล้ว ยังจะอาศัยการ
หลอกลวงเลี้ยงชีวิตอยู่เล่า. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เมื่อกี้พวกเธอสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อพวกภิกษุกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในครั้งก่อนเธอก็
หลอกลวงเหมือนกัน ทรงนำอดีตนิทานมา ดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ ณ พระนคร
พาราณสี
พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นปุโรหิต เป็นบัณฑิตเฉลียวฉลาด.
วันหนึ่งท่านไปเล่นอุทยาน เห็นหญิงแพศยารูปงามนางหนึ่ง ติดใจ สำเร็จการ
อยู่ร่วมกับนาง. นางอาศัยท่านมีครรภ์ ครั้นรู้ว่าตนมีครรภ์ ก็บอกท่านว่า
เจ้านาย ดิฉันตั้งครรภ์แล้วละ ในเวลาเด็กเกิด เมื่อดิฉันจะตั้งชื่อ จะขนานนาม
เขาว่าอย่างไรเจ้าคะ. ท่านคิดว่า เพราะเด็กเกิดในท้องวัณณทาสีไม่อาจขนาน
นามตามสกุลได้ แล้วกล่าวว่า แม่นางเอ๋ย ต้นไม้ที่ป้องกันลมได้ต้นนี้ชื่อว่า
ต้นคูณ เพราะเราได้เด็กที่นี้ เธอควรตั้งชื่อเขาว่า อุททาลกะ (คูณ) เถิด แล้ว